การดูแลลดอาการแผลกดทับในผู้ป่วยนอนติดเตียง
อาการแผลกดทับในผู้ป่วยนอนติดเตียง ผู้สูงอายุ คนแก่ คนชรา ผู้ป่วยอัมพาต มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการแพทย์ว่า "pressure ulcer" โดยวิธีการแก้ไขอาการแผลกดทับสามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม มีรายละเอียดดังนี้
Surface
1. ให้ผู้ป่วยใช้ที่นอนลม, เตียงหรือฟูก โดยต้องมีความหนาอย่างน้อย 2.5 cm ในขณะที่มีการยุบตัวจากน้ำหนักของตัวผู้ป่วย ร่วมกับการเปลี่ยนท่าอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุกๆ 2 ชั่วโมง
2. ใช้หมอนสอดคั่นระหว่างเข่าและขาทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันการเสียดสีและลดแรงกดทับระหว่างปุ่มกระดูก รวมทั้งใช้หมอนหรือผ้าหนุนใต้น่องเพื่อยกส้นเท้าให้ลอยจากพื้นผิวเตียง
3. เก้าอี้หรือรถเข็นที่นั่งต้องมีพนักพิง มีที่วางแขน มีที่พักเท้า และเบาะรองนั่ง โดยเก้าอี้นั่งต้องไม่กว้าง-แคบ หรือยาวมากเกินไป(ระยะระหว่างขาพับกับที่นั่งอย่างน้อย 2 นิ้วมือ) เท้าของผู้ป่วยต้องสามารถวางบนพื้นหรือที่รองเท้าได้สบาย
4. ห้ามใช้ถุงมือใส่น้ำรองรับบริเวณปุ่มกระดูก ส้นเท้า รวมทั้งอุปกรณ์รูปโดนัทในการรองส่วนต่างๆของผู้ป่วย เนื่องจากจะทำให้บวมและเกิดเลือดคั่งได้ง่าย
Skin
1. ดูแลผิวหนังให้ชุ่มชื้น โดยการทาโลชั่นวาสลีน ครีม หรือ ointment เพื่อป้องกันการเสียดสีกับที่นอน อีกทั้งไม่ควรทำการนวดผิวหนังบริเวณปุ่มกระดูก
2. ใช้วัสดุปิดแผลในจุดที่ได้รับการเสียดสีบ่อย เช่น ปิดตามปุ่มกระดูก เพื่อลดการเสียดสีกับที่นอน
Incontinence
1. ทำความสะอาดผิวหนังเป็นประจำทุกวันและทุกครั้งหลังจากการขับถ่าย อย่างเบามือ ด้วยน้ำเปล่า/สบู่อ่อนๆที่มี pH5.5
2. ทาผิวหลังผู้ป่วยด้วยผลิตภัณฑ์ลดความชื้น(Zinc paste/Petroleum Jelly=1/2) ในจุดที่อับชื้น เช่น ก้น เพื่อลดความเสี่ยงที่ผิวหนังจะถูกทำลายจากความชื้น
Encourage Nutrition
1. ดูแลภาวะโภชนาการตามค่าคะแนนของ MUST
2. ดูแลเรื่องการได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
Turn Position
1. กำหนดตารางเวลาการเปลี่ยนท่าเป็นประจำทุก 2 ชั่วโมง
2. ใช้ผ้ารองตัวผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเสียบสีกับที่นอน
3. ใช้ผ้ายกตัวผู้ป่วย เพื่อหลีกเลี่ยงการดึงตัวผู้ป่วยระหว่างการเปลี่ยนท่า
4. สำหรับท่านั่ง ควรนั่งตรง 90 องศา และไม่ควรนั่งนานเกินครั้งละ 1 ชั่วโมง
5. สำหรับท่านอน ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายศีรษะสูง 30 องศา และควรมีการเปลี่ยนเป็นท่านอนตะแคงกึ่งหงายบางเพื่อลดการกดทับในจุดเดิม