แสดงทั้งหมด 5 ผลลัพท์


อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุ

การใช้อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย เป็นสิ่งจำเป็นในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ เพราะหากใช้มือเปล่าในการเคลื่อนย้าย แม้ปฎิบัติอย่างถูกวิธี ผู้ป่วยอาจเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เขียวช้ำหรือ เกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มได้ เนื่องจากผู้สูงอายุมีผิวที่บอบบางและมวกระดูกที่ลดลง แต่หลายคนคงมีข้อสงสัยว่าอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย ELGO มีอะไรบ้าง พาขึ้นรถได้ไหม? เราจึงรวบรวมข้อสงสัยมาเรียบเรียงให้ทุกท่านได้เข้าใจมากขึ้นเพื่อพิจารณาเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยรวมถึงข้อระวังในการใช้อุปกรณ์อีกด้วย

ปัจจัยที่ผู้ดูแลควรพิจารณา ก่อนการเลือกใช้อุปกรณ์ยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

  1. ประเมินสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ

ว่าทำอะไรได้ และทำอะไรไม่ได้ หากผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง พอลุกยืนได้บ้าง แนะนำให้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเคลื่อนย้ายด้วยตัวเอง โดยมีอุปกรณ์ช่วยประคอง ให้ผู้ป่วยได้ใช้ร่างกายตามปกติ เป็นการกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ การที่ผู้ดูแลใช้อุปกรณ์เข้าไปช่วยมากเกินไปอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี เพราะทำให้ร่างกายผู้สูงอายุอ่อนแอลง  เนื่องจากกล้ามเนื้อและกระดูกไม่ได้รับการกระตุ้น 
  1. ใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 

แต่ละอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายมีความเหมาะสมในสถานการณ์ที่ต่างกันออกไป เช่น
  • รถเข็นผู้ป่วย : เหมาะสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในระยะไกล ในพื้นที่ราบ 
  • ผ้ายกตัวผู้ป่วย : เหมาะสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในระยะทางสั้นๆ ในพื้นที่ขรุขระ หรือแคบ ที่รถเข็นเข้าไม่ถึง เช่น จากเตียงไปรถเข็น ขึ้นรถยนต์ หรือขึ้นลงบันได ซึ่งต้องใช้ผู้ช่วยเหลือ 2 คนในการเคลื่อนย้าย
  • เข็มขัดพยุงตัวผู้ป่วย : เหมาะสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในระยะทางสั้นๆ ด้วยผู้ดูแลคนเดียว โดยที่ผู้ป่วยจะต้องพอจะยืนเดินได้บ้าง

ทำความรู้จักอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยELGO ว่ามีอะไรบ้าง

  1. เข็มขัดพยุงตัวผู้ป่วย ELGO (Patient Transfer Belt)

เหมาะสำหรับ 
  • การเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรง แต่พอยืนเดินได้บ้าง ช่วยพยุงตัวให้ผู้ป่วยรู้สึกมั่นคงและปลอดภัย ป้องกันการเกิดพลัดตกหกล้ม 
โดยสามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยผู้ดูแลคนเดียว
  • ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย กระตุ้นการทำงานของกระดูกและกล้ามเนื้อของผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ดำเนินชีวิตประจำวันให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
โดยมี 2 แบบให้เลือกใช้งาน
  1. เข็มขัดพยุงตัวผู้ป่วย แบบมาตรฐาน : 

เหมาะสำหรับผู้ป่วยอัมพาตระยะฝึกยืน-เดิน ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่สามารถลุกยืนเดินได้ แต่อ่อนเพลีย เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม 
  1. เข็มขัดพยุงตัวผู้ป่วย แบบมีสายคล้องขา: 

เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่กล้ามเนื้ออ่อนแรงมาก มีปัญหาลุกยืนไม่ค่อยไหว มีโอกาสทรุดทิ้งตัว

ผ้ายกตัวผู้ป่วย ELGO (Patient Transfer Sheet)

เป็นอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุ ใช้ร่วมกับรถเข็นผู้ป่วย พกพาง่ายไม่เปลืองที่เก็บ เป็นอุปกรณ์สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ในพื้นที่ที่รถเข็นไม่สามารถเข้าถึง ซึ่งผ้ายกตัวผู้ป่วย ELGO แต่ละรุ่น ถูกออกแบบให้มีคุณสมบัติโดดเด่นแตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะกับความพร้อมของร่างกายของผู้ป่วยที่แตกต่างกัน โดยมี 4 แบบให้เลือกใช้งาน
  1. ผ้ายกตัว ELGO SOFT 

ให้สัมผัสนุ่มด้วยเบาะหนาภายในนอน-นั่งทับสบายไม่ระคายเคืองผิวผู้ป่วย ใช้ได้ทั้งรองในท่านั่งเพื่อยกเคลื่อนย้ายในสถานการณ์ต่างๆ และรองในท่านอนเพื่อเป็นตัวช่วยพลิกตัวตะแคงตัวผู้ป่วยบนเตียง สามารถใช้เป็นเบาะรองติดตัวผู้ป่วยไปได้ทุกที่ 
  1. ผ้ายกตัว ELGO SMART 

นอกจากความสามารถในการยกเคลื่อนย้ายในสถานการณ์ต่างๆ ด้วยการออกแบบให้ “ถอด-ใส่ได้ขณะผู้ป่วยนั่งในที่แคบ โดยไม่ต้องอุ้มพยุงผู้ป่วยขึ้น” สะดวกในการพาอาบน้ำหรือขับถ่ายในห้องน้ำ ผู้ป่วยมีโอกาสอาบน้ำได้บ่อยขึ้น ลดภาระผู้ดูแลในการรักษาความสะอาด
  1. ผ้ายกตัว ELGO SMART รุ่นกันน้ำ 2 ด้าน

ใช้เป็นของส่วนกลางในสถานพยาบาล ศูนย์ดูแล ทำความสะอาดง่ายด้วยเสปรย์ฆ่าเชื้อ สำหรับเจ้าหน้าที่เวรเปลหน้าโรงพยาบาลใช้รับ-ส่งผู้ป่วยขึ้นรถยนต์ “ถอด-ใส่ได้ขณะผู้ป่วยนั่งในรถยนต์” และสำหรับยกคนไข้ขึ้นเตียงตรวจ
  1. ผ้ายกตัว ELGO SOFT รุ่นยาวพิเศษ 8 หูจับ

เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถทรงศีรษะได้ รองรับตั้งแต่เหนือข้อพับเข่าถึงศรีษะของผู้ป่วย สามารถใช้เพื่อเคลื่อนย้ายขึ้น-ลงบันไดในท่านอน และใช้กับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมาก เพื่อกระจายการรับน้ำหนักของผู้ยกโดยใช้ผู้ยกมากกว่า 2 คนขึ้นไป

อุปกรณ์เสริมเพิ่มความปลอดภัยระหว่างการยกเคลื่อนย้าย

เข็มขัดรัดกันตก ELGO (Patient Safety Belt)

ยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วยเข็มขัดรัดกันตก ELGO อุปกรณ์เสริมความปลอดภัยระหว่างการยกเคลื่อนย้ายด้วยผ้ายกตัว หรือใช้คาดผู้ป่วยติดกับรถเข็นผู้ป่วยหรือเก้าอี้ ป้องกันการพลัดตก 

ข้อควรระวังในการใช้งานอุปกรณ์ช่วยยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

  • ประเมินสภาพผู้ป่วย ก่อนเคลื่อนย้าย ควรประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนว่าสามารถเคลื่อนย้ายได้หรือไม่ 
  • ตรวจสอบอุปกรณ์ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมก่อนเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
  • ผู้ดูแลควรใช้ท่าทางที่ถูกต้องขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ผู้สูงอายุ
  • การดูแลผู้ป่วยติดเตียง ด้วยผู้ดูแลคนเดียว
  • สิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มต้นดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุ
พวกเราใช้ Cookies
ELGO ให้ความสำคัญต่อความเป็นส่วนตัว เราจะทำงานอย่างดีที่สุดเพื่อรักษาความลับ และควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลของคุณให้ปลอดภัย คลิกเพื่ออ่านนโยบายคุกกี้